Products & Services

Extensive Neurotransmitter Test

    การตรวจ  Extensive Neurotransmitter ในปัสสาวะ  เป็นการตรวจวัดระดับของสารสื่อประสาท 6 ชนิดได้แก่  serotonin, GABA, dopamine, noradrenaline, adrenaline และ glutamate สารสื่อประสาททั้ง 6 ชนิดนี้ มีการศึกษาวิจัยมากที่สุดในเรื่องผลกระทบต่อความผิดปกติทางอารมณ์, ฮอร์โมน, การนอนหลับ, ความสมดุลของ glucose/ insulin, การรับรู้ความเจ็บปวด, ความอยากอาหาร และเกี่ยวกับความจำ  การตรวจ Extensive Neurotransmitter profile นี้มักแนะนำให้ตรวจ Adrenocortex Stress Profile ร่วมด้วย  เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันระหว่างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตกับ hypothalamic-pituitary-adrenal ( HP) axis การตรวจ Stress Profile เป็นการตรวจระดับฮอร์โมน Cortisol 4 เวลา และ DHEAs รูปแบบของรายงานผล จะแสดงผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับอาการของผู้ป่วย กับผลการตรวจที่สอดคล้องกัน ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัย และรักษาได้ง่ายขึ้น  ระดับของสารสื่อประสาทจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสุขภาพทางจิตต่างๆเช่นโรคซึมเศร้า, สมาธิสั้น(ADHD), โรคพาร์กินสัน และPanic attack
  HIGH LOW
Cortisol Fatigue
Inflammation and Allergies
Anxiety
Poor Sleep
Insulin Resistance
Immune Suppression
Fatigue
Inflammation and Allergies
Dopamine Developmental Problems
Schizophrenia
Psychosis
Possible increased testosterone production
Lack of Motivation
Focus
Memory
Addictions and Cravings
Low Libido/ decreased testosterone
Poor motor control/ Tremors
Noradrenaline Stress and Anxiety
Hyperactivity
Increased Blood Pressure
Pain
Lack of Focus/Energy/Motivation
Depression with Apathy
Adrenaline Insomnia
Anxiety
Stress
Blood Sugar Imbalance
Insulin Resistance
Allergic reactions
Poor Methylation
Lack of Focus
Lack of Energy
Poor Blood Sugar Control
Glutamate Neurotoxicity
Anxiety
Stress
Decreased Mood
Sleep disturbances
Fatigue
Low Brain Function
Poor Memory
Serotonin Headache, mental confusion
Sweating, shivering
Hypertension, tachycardia
Nausea, vomiting
Muscle twitching, tremor
Depression/Low Mood
Hot Flashes
Sleep Difficulties/Anxiety
Carbohydrate Cravings
Constipation
GABA Anxiety
Tingling of extremities
Shortness of breath
Numb feeling around the Mouth
Throbbing heart
Anxiety
Hyperactivity
PMS
Sleep issues
Mood disorders/Anxiety
Depression 

หน้าที่ของ serotonin :
    serotonin (5-hydroxytryptamine) เป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง สังเคราะห์ขึ้นภายในเซลล์ประสาทที่สร้าง serotonin ซึ่งอยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) และเซลล์ enterochromaffin ของระบบทางเดินอาหาร เชื่อว่าจะมีบทบาทสำคัญในระบบประสาทส่วนกลาง คือเป็นสารสื่อประสาทในการควบคุมความโกรธความอยากอาหาร, อุณหภูมิของร่างกาย, อารมณ์ทางเพศ และการนอนหลับ พบว่าถ้ามีระดับต่ำอาจจะเกี่ยวข้องกับความก้าวร้าว, ความวิตกกังวล, ซึมเศร้า, หุนหันพลันแล่น, หงุดหงิด , ความผิดปกติของการกิน และความผิดปกติของการนอนหลับ
 
หน้าที่ของ Dopamine, Noradrenaline และ Adrenaline :

    โดปามีนเป็นสารสื่อประสาทชนิด กระตุ้น และยับยั้ง มีการสังเคราะห์ขึ้นจากหลายตำแหน่งในสมอง และยังเป็นสารตั้งต้นสำหรับการสร้าง noradrenaline และ adrenaline โดพามีนที่หลั่งออกมาจากต่อม hypothalamus ยังทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนยับยั้งการสร้าง prolactin จากต่อมใต้สมอง นอกจากนี้ในระบบประสาทส่วนกลาง โดปามีนยังเกี่ยวข้องในการควบคุมของความสุข, ความจำ, การควบคุมการส่งกระแสประสาท, การนอน, อารมณ์, ความสนใจและการเรียนรู้ โดปามีนมักหลั่งออกมาเมื่อได้เสพบางสิ่งที่ทำให้มีความสุข เช่น อาหาร อารมณ์ทางเพศ  และยาบางชนิด เป็นต้น ถ้าปริมาณของโดปามีนลดลง มักจะมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียความพึงพอใจ การแยกตัวออกจากสังคม ขาดความกระตือรือร้น ขาดแรงจูงใจ และขาดความสนใจ นอกจากนี้ถ้าระดับโดปามีนต่ำจะส่งผลในการควบคุมร่างกายบกพร่องจนเกิดโรค เช่น โรคพาร์กินสัน ถ้าระดับโดปามีนสูง อาจทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าว, เป็นโรคจิตเภท, สมาธิสั้น และกลุ่มอาการ Tourette’s Syndrome.
 
หน้าที่ของ GABA :

    GABA (gamma aminobutyric acid) เป็นกรดอะมิโนที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง ในสมอง GABA สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนชนิดกลูตาเมตในสมอง เป็นสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น  ในร่างกายเรา พบ GABA มีความเข้มข้นสูงบริเวณ Hypothalamus ในสมองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมอง(Pituitary) – ซึ่งควบคุมการสังเคราะห์ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone)  ควบคุมการนอนหลับ และอุณหภูมิของร่างกาย


หน้าที่ของ Glutamate :

    กลูตาเมตเป็นสื่อประสาทที่สำคัญชนิดกระตุ้นในสมอง และมีส่วนในการทำงานของสมองให้เป็นปกติ ได้แก่ การรับรู้ หน่วยความจำ และการเรียนรู้ กลูตาเมตไม่เพียงเป็นสื่อประสาทของข้อมูลจำนวนมาก แต่ยังเป็นที่เก็บข้อมูลซึ่งควบคุมการพัฒนาของสมอง และข้อมูลที่กำหนดการอยู่รอดของเซลล์ การจำแนกชนิด รวมถึงการหยุดส่งและการส่งของกระแสประสาท (synapses) การทำงานของกลูตาเมตโดยจับกับตัวรับ (receptor) ของกลูตาเมต หลังจากนั้นจึงมีการส่งสัญญาณของระบบประสาท ตัวรับกลูตาเมต แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้หลายชนิดได้แก่ : NMDA, AMPA / kainate และ metabotropic receptor (mGluR)
 
วิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจ:
    เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าให้ปัสสาวะครั้งแรกทิ้งไป หลังจากนั้น เก็บตัวอย่างปัสสาวะครั้งที่สอง (ประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน) ในกระบอกที่จัดมาให้  แล้วใช้หลอด Monovettes ที่จัดมาให้ในชุด ดูดปัสสาวะจากกระบอก แล้วนำหลอด Monovettes แช่แข็งอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนที่จะโทรศัพท์แจ้งให้เจ้าหน้าทีของบริษัทไบโอสเต็ม มารับหลอดเก็บปัสสาวะที่แช่แข็งแล้วนั้น


การรายงานผลการตรวจ:
ประมาณสามสัปดาห์หลังจากที่ได้รับตัวอย่างปัสสาวะ